Blogger นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความรู้ข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา วัตถุประสงค์ตั้งขึ้นมาเพื่อใช้ประกอบกับการเรียนการสอนวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเผยแพร่ข่าวสารบางส่วนให้กับผู้ที่สนใจจะศึกษาในด้านเทคโนโลยีทางการศึกษานี้ ถ้า Blogger นี้มีข้อผิดพลาดหรือไม่ถูกต้องประการใด ผู้จัดทำขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย


เพลง เกิดเป็นผู้หญิง >> นิว จิ๋ว

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต


อินเตอร์เน็ตคืออะไร ?
อินเตอร์เน็ต(Internet) คือ กลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมโยงติดต่อเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกัน อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งเรียนรู้ขนาดใหญ่ ที่รวบรวมความรู้ทุกๆด้านให้ผู้ที่ต้องการค้นคว้าหาข้อมูลเข้าไปค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังห้องสมุดด้วยตนเอง

ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในต่างประเทศ
- อินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD)
- ค.ศ.1960 (พ.ศ.2503) ARPA ได้ถูกก่อตั้งและได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
- ค.ศ.1969 (พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
- ค.ศ.1983 (พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
- การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง
- ค.ศ.1980 (พ.ศ.2533) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน

ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
- พ.ศ. 2530 ประเทศไทยได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายเตอร์เน็ตครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลีย แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากการส่งข้อมูลล่าช้า
- พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectect) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมมือกันเช่าสายโทรศัพท์เพื่อต่อพ่วงคอมพิวเตอร์แต่ละสถาบันเข้าด้วยกัน โดยเรียกเครือข่ายสมัยนั้นว่า "เครือข่ายไทยสาร"
- พ.ศ. 2537 เครือข่ายไทยสารเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และมีหน่วยงานต่างๆของราชการเข้ามาเชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้นเรื่อยๆ และต่อมาทางหน่วยงานเอกชนมีความต้องการใช้บริการมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่บิษัทต่างๆ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยเรียกบริษัทเอกชนที่ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ว่า ISP (Internet Service Provider)

ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

มาตรฐานการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต

โปรโตคอล (Protocal)
โปรโตคอล คือ ตัวกลางหรือภาษากลางที่ใช้เป็นมาตรฐานในการสื่อสารในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เปรียบเสมือนล่ามที่ใช้แปลภาษาของเครือข่ายต่างๆ ให้สื่อสารเข้าใจกัน เช่น TCP/IP เป็นต้น
ไอพีแอดเดรส (IP Address)
เมื่อเราต้องการสื่อสารกันเราจะต้องรู้จักชื่อ ที่อยู่ของผู้ที่จะติดต่อด้วยในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องเข้าด้วยกัน ฉะนั้นจึงจะต้องมีการกำหนดชื่อหรือเลขประจำเครื่องที่ไม่ซ้ำกันกับเครื่องอื่นๆ ซึ่งรูปแบบการกำหนดเช่นนี้ เรียกว่า ไอพีแอดเดรส (IP Address) โดยไอพีแอดเดส ในปัจจุบัน จะใช้อยู่ 2 มาตรฐาน คือ IPV4 และ IPV6 ยกตัวอย่าง เช่น ไอพีแอดเดรส มาตรฐาน IPV4 ประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด คั่นด้วย (.) เช่น 61.35.42.11 แทน หมายเลขเครื่อง 1 เครื่องในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สำหรับผู้ที่ควบคุมและจัดสรรหมายเลขไอพีแอดเดรสเพื่อไม่ให้ซ้ำกัน เราเรียกองค์กรนั้นว่า อินเตอร์นิก (InterNIC)
โดเมนเนม (Domain Name)
โดเมนเนม คือ ระบบที่นำอักษรมาใช้แทนไอพีแอดเดรสที่เป็นตัวเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ยากต่อการจดจำ โดยแต่ละโดเมนจะต้องไม่ซ้ำกันเช่นเดียวกับไอพีแอดเดรส การตั้งชื่อโดเมนนิยมตั้งชื่อให้สะดวกต่อการจดจำ เช่น google.co.th เป็นต้น
ความรู้เกี่ยวกับ Domain
โดเมนเนม ประกอบด้วย ชื่อองค์กร . ส่วนขยายบอกประเภทองค์กร . ส่วนขยายบอกประเทศ เช่น
google.co.th ประกอบด้วย google แทน บริษัท Google . co ย่อมาจาก commercial (องค์กรเอกชน) . th ย่อมาจาก thailand เป็นต้น
อื่นๆ เช่น sisaket.go.th ประกอบด้วย sisaket แทน จังหวัดศรีสะเกษ . go แทน Goverment (ราชการ) . th ประเทศไทย
ตัวอย่างส่วนขยายองค์กร เช่น ac , edu แทน สถาบันทางการศึกษา net แทน องค์กรที่ให้บริการเครือข่ายทั่วไป
ตัวอย่างส่วนขยายประเทศ เช่น th : ไทย , uk : อังกฤษ , jp : ญี่ปุ่น, fr : ฝรั่งเศส , de : เยอรมันนี , ca : แคนาดา เป็นต้น


แหล่งที่มา http://school.obec.go.th/phusing/html/chapter1.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น