Blogger นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความรู้ข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา วัตถุประสงค์ตั้งขึ้นมาเพื่อใช้ประกอบกับการเรียนการสอนวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเผยแพร่ข่าวสารบางส่วนให้กับผู้ที่สนใจจะศึกษาในด้านเทคโนโลยีทางการศึกษานี้ ถ้า Blogger นี้มีข้อผิดพลาดหรือไม่ถูกต้องประการใด ผู้จัดทำขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย


เพลง เกิดเป็นผู้หญิง >> นิว จิ๋ว

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

นโยบายการศึกษาของรัฐบาลไทย2554 เฉพาะส่วนที่เกี่ยวโยงกับอาเซียน

บันทึกอาเซียน | ASEAN DIARY : นโยบายการศึกษา ของ รัฐบาลไทย 2554 เฉพาะส่วนที่เกี่ยวโยงกับอาเซียน
เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ฯพณฯนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แถลงนโยบาลรัฐบาลต่อรัฐสภา โดยมีนโยบายว่าด้วยการศึกษาปรากฏในคำแถลงตามที่คัดแยกมา (คงหมายเลขกำกับหัวข้อตามเดิม) ดังนี้ :

บทนำ ว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนผ่านเชิงโครงสร้างที่สำคัญ ๓ ประการ คือ ๑. การเปลี่ยนผ่านของเศรษฐกิจ ๒. การเปลี่ยนผ่านทางด้านการเมือง และ ๓. การเปลี่ยนผ่านของโครงสร้างประชาากรและสังคมไทย เฉพาะในข้อ ๓ ตามที่จะอ้างต่อไปนี้มีข้อความที่เกี่ยวข้องกับการศึกษารวมอยู่ด้วย :

“๓. การเปลี่ยนผ่านของโครงสร้างประชากรและสังคมไทย โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมผู้สูงอายุจะมีผลกระทบต่อปริมาณ และคุณภาพของคนไทยในอนาคต ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งปัญหายาเสพติด และปัญหาวัยรุ่นที่จะบั่นทอนคุณภาพของเยาวชนไทย ซึ่งมีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบการศึกษา การให้บริการสุขภาพและสร้างสวัสดิการที่มั่นคงให้แก่คนไทยทุกคน นอกจากนี้ ประเทศไทยยังต้องเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงในภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต เช่น ภาวะโลกร้อน ภัยธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และกฎระเบียบของการแข่งขันในตลาดโลก เป็นต้น”

ตอนต่อมาว่าด้วยนโยบายเร่งด่วนปีแรก รัฐบาลแถลงเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาดังนี้ :

“๑. นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

๑.๕ เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่ พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจนยาเสพติด และอิทธิพลอำนาจมืด โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติในแนวทางสันติวิธี โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชนในพื้นที่ อำ นวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอภาค พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะ พื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและ ระดับปฏิบัติ รวมทั้งปรับปรุง พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง ทันสมัย กับสภาพความเป็นจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม

๑.๑๐.๓ จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษา ที่ร่วมโครงการสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ” ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับ เคลื่อนเศรษฐกิจ

๑.๑๕ จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียน นำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๕ ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสม ตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่ กำหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย”

ในข้อ “๔. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต” รัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาเป็นลำดับแรก แม้เขียนนโนยบายอย่างละเอียดมากหลายประเด็น แต่ก็พบว่าไม่ครบถ้วน และจัดกลุ่มนโยบายไม่เป็นระบบ คำแถลงนโยบายตามลำดับย่อหน้า เริ่มด้วยเรื่องนโยบายทั่วไป ต่อด้วยนโยบายเรื่องการอุดมศึกษา อาชีวะศึกษา ปฏิรูปครู กลับมาที่เรื่องอุดมศึกษา ต่อเรื่องเทคโนโลยีการศึกษา การวิจัยและพัฒนา สำหรับการศึกษาระดับอนุบาล,ประถมศึกษา, และมัธยมศึกษา อันเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นปรากฏว่าไม่มีการกล่าวถึงเป็นการเฉพาะเลย นอกจากจะเขียนไว้ก่อนหน้านี้แล้วเฉพาะเรื่องการจะให้คอมพิวเตอร์แบบแผ่นพกพา หรือ tablet ให้กับเด็กนักเรียนชั้น ป.๑ เป็นโครงการนำร่องในบางโรงเรียน ถึงส่วนท้ายของนโยบายการศึกษาจึงมีเรื่องเรื่องอาเซียนอยู่หนึ่งย่อหน้า เป็นเรื่องสุดท้าย ดังนี้ :

“๔.๑ นโยบายการศึกษา

ในส่วนของนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงระยะ ๔ ปีของรัฐบาลชุดนี้ “นโยบายด้านการศึกษา” ได้กำหนดไว้ใน “นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต” ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

๔.๑.๑ เร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการปฏิรูประบบความรู้ของสังคมไทย อันประกอบด้วย การยกระดับองค์ความรู้ให้ได้มาตรฐานสากล จัดให้มีโครงการตำราแห่งชาติที่บรรจุความรู้ที่ก้าวหน้าและได้มาตรฐาน ทั้งความรู้ที่เป็นสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการอ่าน พร้อมทั้งส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น จัดให้มีระบบการจัดการความรู้ ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกและทัดเทียม กับมาตรฐานสากลบนความเป็นท้องถิ่นและความเป็นไทย เพิ่มผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาทุกระดับชั้น โดยวัดผลจากการผ่านการทดสอบมาตรฐานในระดับชาติและนานาชาติ ขจัดความไม่รู้หนังสือให้สิ้นไปจากสังคมไทย จัดให้มีครูดีเพียงพอในทุกห้องเรียน ให้มีโรงเรียนและสถาบันอาชีวศึกษาคุณภาพสูงในทุกพื้นที่ พัฒนามหาวิทยาลัยเข้าสู่ระดับโลก พัฒนาระบบการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม มุ่งการสร้างจริยธรรมในระดับปัจเจก รวมทั้งสร้างความตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความเสมอภาค และดำเนินการให้การศึกษาเป็นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง ปรับปรุงโครงสร้างระบบบริหารการศึกษาโดยการกระจายอำนาจสู่พื้นที่ให้เสร็จ สมบูรณ์โดยเริ่มจากพื้นที่ที่มีความพร้อม

๔.๑.๒ สร้างโอกาสทางการศึกษา กระจายโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทย โดยคำนึงถึงการสร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นแก่ประชากร ทุกกลุ่ม ซึ่งรวมถึงผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้บกพร่องทางกายและการเรียนรู้ รวมทั้งชนกลุ่มน้อย โดยส่งเสริมการให้ความรู้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาถึงแรกเกิด ให้ได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพทั้งแม่และเด็ก สนับสนุนการจัดการศึกษาตามวัยและพัฒนาการอย่างมีคุณภาพ ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดให้มีระบบสะสมผลการศึกษาและการเทียบโอนเพื่อขยายโอกาสให้กว้างขวางและ ลดปัญหาคนออกจากระบบการศึกษา

นอกจากนี้ จะดำเนินการลดข้อจำกัดของการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา ชั้นสูง โดยจัดให้มี “โครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต” โดยให้ผู้กู้เริ่มใช้คืนต่อเมื่อมีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงตัวได้พักชำระ หนี้แก่ผู้เป็นหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยปรับเปลี่ยนการชำระหนี้เป็นระบบที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต ปรับปรุงระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อทุกระดับให้เอื้อต่อการกระจายโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะจัดให้มีระบบคัดเลือกกลางเพื่อเข้าศึกษาต่อใน มหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ดำเนิน “โครงการ ๑ อำเภอ ๑ ทุน” เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กไทยได้ไปเรียนต่อต่างประเทศ จัดการศึกษาชุมชนเพื่อมุ่งให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้และการศึกษาตลอดชีวิต

๔.๑.๓ ปฏิรูปครู ยกฐานะให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงอย่างแท้จริง โดยปฏิรูประบบการผลิตครูให้มีคุณภาพทัดเทียมกับนานาชาติ สร้างแรงจูงใจให้คนเรียนดี และมีคุณธรรมเข้าสู่วิชาชีพครู ปรับปรุงระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนครู พัฒนาระบบความก้าวหน้าของครูโดยใช้การประเมินเชิงประจักษ์ที่อิงขีดความ สามารถและวัดสัมฤทธิผลของการจัดการศึกษาเป็นหลัก จัดระบบการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพครูอย่างต่อเนื่อง แก้ปัญหาหนี้สินครูโดยการพักชำระหนี้และการปรับโครงสร้างหนี้ตามนโยบาย แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของรัฐบาล พัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อใช้ในการกระจายครู ขจัดปัญหาการขาดแคลนครูในสาระวิชาหลัก เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษา

๔.๑.๔ จัดการศึกษาขั้นอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานทั้งในเชิง ปริมาณและคุณภาพ โดยกระบวนการสร้างประสบการณ์ระหว่างเรียนอย่างเหมาะสม และสนับสนุนการสร้างรายได้ระหว่างเรียน และสนับสนุนให้ผู้สำเร็จการศึกษามีงานทำได้ทันทีโดยความร่วมมือระหว่างแหล่ง งานกับสถานศึกษา ส่งเสริมให้ศูนย์อบรมอาชีวศึกษาเพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนสามารถเรียนรู้หาประสบการณ์ก่อนไปประกอบอาชีพ โดยให้สถาบันอาชีวศึกษาดำเนินการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละอาชีพ รวมทั้งจัดให้มีศูนย์ซ่อมสร้างประจำชุมชนเพื่อฝึกฝนช่างฝีมือและการสร้าง ทักษะในการให้บริการแก่ประชาชน

ทั้งนี้ จะดำเนินการร่วมกับภาคเอกชนอย่างจริงจัง เพื่อส่งเสริมการศึกษาในสายอาชีวศึกษาให้เป็นที่ยอมรับและสามารถมีรายได้สูง ตามความสามารถ

๔.๑.๕ เร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนานาชาติ โดยใช้เป็นเครื่องมือในการเร่งยกระดับคุณภาพและการกระจายโอกาสทางการศึกษา จัดให้มีระบบการเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติเพื่อเป็นกลไกในการเปลี่ยน กระบวนทัศน์การเรียนรู้ให้เป็นแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเอื้อให้เกิดการ เรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา พัฒนาระบบ “ไซเบอร์โฮม” ที่สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนโดยระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ส่งเสริมให้นักเรียนทุกระดับชั้นได้ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการ ศึกษา ขยายระบบโทรทัศน์เพื่อการศึกษาให้กว้างขวาง ปรับปรุงห้องเรียนนำร่องให้ได้มาตรฐานห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเร่งดำเนินการให้ “กองทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา” สามารถดำเนินการตามภารกิจได้

๔.๑.๖ สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างทุนปัญญาของชาติ พัฒนามหาวิทยาลัยให้มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยระดับโลก ระดมสรรพกำลังเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายการวิจัยแห่งชาติเพื่อสร้างทุนทาง ปัญญาและนวัตกรรม ผลักดันให้ประเทศสามารถพึ่งตนเองได้ทางเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การสร้างรากฐาน ใหม่ของเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อการวิจัยสำหรับสาขาวิชาที่จำเป็น พัฒนาโครงสร้างการบริหารงานวิจัยของชาติโดยเน้นความสัมพันธ์อย่างเหมาะสมและ มีประสิทธิภาพระหว่างองค์กรบริหารงานวิจัยกับสถาบันอุดมศึกษา

๔.๑.๗ เพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน โดยร่วมมือกับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาในการวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคน ให้มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอ สอดคล้องตามความต้องการของภาคการผลิตและบริการ เร่งรัดการจัดทำมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพรับรองสมรรถนะการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน อาชีพ และการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานให้ครบทุกอุตสาหกรรม”
คำวิจารณ์เฉพาะเรื่องนโยบายการศึกษาที่เกี่ยวโยงกับอาเซียน

๑. โดยภาพรวมรัฐบาลมิได้พาดพิงถึงเรื่องอาเซียนโดยเฉพาะเจาะจง ยกเว้นที่กล่าวถึงในข้อสุดท้าย (๔.๑.๗) แต่ก็สามารถอธิบายได้ว่านโยบายโดยรวมเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับนโยบายของอา เซียนทั้งหมดได้ ตาม “ปฏิญญาชะอำ-หัวหิน 2009 ว่าด้วยเรื่องความร่วมมือทางการศึกษาเพื่อบรรลุความเป็นประชาคมที่เอื้ออาทร และแบ่งปันกัน” (Cha Am-Hua Hin Declaration on Strengthening Cooperation on Education to Achieve an ASEAN Caring and Sharing Community 2009” และ “แผนปฏิบัติการสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน” (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint) ซึ่งเรื่องหลักคือเรื่อง โอกาสสำหรับทุกคน ทุกกลุ่มชน ทุกพื้นที่ ในการเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน ทั้งคุณภาพ ปริมาณ ระดับการศึกษา ตลอดจนการศึกษาที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมยั่งยืน (โรงเรียนอาเซียนสีเขียว/ASEAN Green School) การพัฒนาศักยภาพมนุษย์ การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาเรื่องอาเซียน การใช้ภาษาอังกฤษ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนระหว่างโรงเรียนและเยาวชนในอาเซียน ทั้งหมดนี้แม้ไม่ได้เอ่ยถึงความเชื่อมโยงกับที่มีความตกลงกันแล้วกับอาเซียน ก็อนุโลมว่ารัฐบาลจะทำตามที่ปรากฏเป็นแนวนโยบายร่วมกันของอาเซียนแน่นอน เพียงรัฐบาลอาจจะละเลยที่จะเขียนนโยบายให้ชัดเจนเพราะความเร่งรีบในการทำ นโยบายที่มาเริ่มเขียนหลังเลือกตั้งก่อนการแถลงนโยบายป็นทางการไม่นาน

๒. เฉพาะที่พาดพิงเกี่ยวโยงกับอาเซียนโดยตรงก็ปรากฏในข้อสุดท้ายเพียงสั้นๆ คือข้อ ๔.๑.๗ ที่กล่าวถึงความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและภาคเอกชนเพื่อวางวางแผนผลิต บัณฑิตเข้าสู่ตลาดแรงงานอาชีพต่างๆให้ได้มาตรฐานวิชาชีพตามที่อาเซียนมีความ ตกลงกันในกระบวนการเจรจาในกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แม้จะเขียนไว้สั้นมาก แต่วิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์ก็อนุโลมให้ว่าสามารถอธิบายว่านโยบายสอดคล้องกับ อาเซียนในเรื่องการผลิตผู้สำเร็จการศึกษาเข้าสู่ตลาดแรงงานมาตรฐานอาเซียน ส่วนรายละเอียดนั้นรัฐบาลจะต้องแสดงออกในตอนทำงานจริงจากนี้ ไป
๓. มีความเข้าใจผิด หรือไม่ก็เป็น“ความไม่รู้”เรื่องอาเซียนอย่างไม่ควรปรากฏในคำแถลงนโยบาย ตอนที่เขียนว่า “เพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอา เซียน” เพราะคำว่า“ประชาคมอาเซียน”ถูกใช้โดยเข้าใจสับสนผิดเผลอกับคำว่า“เขตการค้า เสรีอาเซียน” ข้อเป็นจริงที่จะเกี่ยวกับการ “เปิด-ปิด” อย่างเสรีนั้นเป็นเขตการค้าเสรีอาเซียนซึ่งเปิดไปนานแล้วและทยอยเปิดตามความ ตกลงที่ทยอยเจรจาและปฏิบัติกัน เขตการค้าเสรีอาเซียนเปิดเป็นทางการเมื่อต้นปี 2554/2011 และกำลังค่อยๆทำต่อเนื่องไปจนถึงปี 2558/2015 เขตการค้าเป็นเรื่องการเศรษฐกิจในขอบเขตพื้นที่ดินแดนภูมิรัฐศาสตร์ ส่วน“ประชาคมอาเซียน”เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ของผู้คนพลเมืองในพื้นที่ ภูมิรัฐศาสตร์เดียวกัน ซึ่งไม่มีเปิด-ไม่มีปิด ไม่มีเสรี-ไม่มีปิดกั้น การสร้างประชาคมอาเซียนเป็นการปรับวิถีชีวิต การเรียนรู้ การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน ประชาคมอาเซียนมีมาตั้งแต่กำเนิดอาเซียนเมื่อ 44 ปีที่แล้ว เพียงแต่ว่าการสร้างประชาคมให้เกิดจิตสำนึกร่วมกันในทั้งสามเรื่องหลัก (การเมืองและความั่นคง, เศรษบกิจ, สังคมและวัฒนธรรม) เป็นเรื่องที่เพิ่งจะมีความตกลงเด่นชัดจนถึงขั้นมีแผนปฏิบัติการมาได้เพียง 8 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น ส่วนของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนก้เพิ่งจะประกาศแผนปฏิบัติการเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมานี้เอง อกจากนั้นการจะสร้างประชาคมอาเซียนให้ได้ตามเป้าหมายก็กำหนดปี 2558/2015 เป็นเป้าหมายปลายทาง ดังนั้นการเขียนนโยบายข้อ ๔.๑.๗ จึงเป็นการสะท้อนความสับสนในเรื่อง “ประชาคมอาเซียน” กับ “เขตการค้าเสรีอาเซียน” อาจเป็นความสับสนในยามที่ต้องเขียนนโยบายอย่างเร่งด่วน ขาดการกลั่นกรอง หรืออาจไม่มีผู้รู้เรื่องอาเซียนอย่างลึกซึ้งไปร่วมเขียนนโยบายด้วย โดยเฉพาะในตอนตรวจสอบร่างนโยบายขั้นสุดท้าย

๔. โดยสรุป รัฐบาลมิได้สะท้อนความลึกซึ้งในเรื่องอาเซียนในคำแถลงนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษา เรื่องการเมืองและความมั่นคง เรื่องเศรษฐกิจ และ เรื่องสังคมและวัฒนธรรม ในทางปฏิบัติรัฐบาลสามารถปรับนโยบายและปรับการทำงานได้เสมอ

อ้างอิง
นโยบายรัฐบาล ฯพณฯนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร 23 สิงหาคม 2554
http://spm.thaigov.go.th/multimedia/warapornc/policy/Policy-Yingluck28.pdf [http://www.moe.go.th/websm/2011/aug/219.html]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น